HOW TO USE PAINT TOOL SAI
SAI Tutorial: ส่วนประกอบของโปรแกรม SAI
ด้านบนนี้คือหน้าตาของโปรแกรม Paint Tool SAI ค่ะ หลายๆ คนยังไม่เคยใช้โปรแกรมนี้ เพราะฉะนั้นเราจะบอกแบบละเอียด พยายามเขียนให้ครบทุกจุดเลย (ยกเว้นแถบเมนูบาร์) แต่ก็ยอมรับว่าเราไม่ได้รู้ทั้งหมดของโปรแกรมอ่ะน้า มีผิดพลาดตรงไหนต้องขออภัยไว้ก่อนเลยครับ
เราจะสอนในส่วนต่างๆ ตามรูปนะครับ (ส่วนไหนไม่ได้ไฮไลท์ ก็จะไม่พูดเลยนะเออ)
ส่วนที่ 1 – ส่วนนี้ใช้ประโยชน์ในเรื่องการดูภาพรวมของงาน การซูมภาพบนสเตจเพื่อความสะดวกในการเก็บรายละเอียด และการหมุนภาพสำหรับจุดที่เราไม่ถนัดในการลงสี ให้มีองศาพอเหมาะกับการทำงานของเรา
ส่วนที่ 2 – ส่วนนี้ใช้ประโยชน์เวลาที่ต้องการปรับแต่งพื้นสีหลังจากเราใช้บรัชหรืออย่างอื่นลงสี เพื่อไม่ให้ดูเรียบเกินไป อาจจะใช้ในส่วนของเสื้อผ้า หรือพื้นหลัง
(แต่เราก็ไม่ค่อยใช้หรอกครับ ฮา)
ส่วนที่ 3 – ส่วนนี้ใช้บ่อยมากในการลง CG เพราะมีประโยชน์หลายอย่างเลยครับ
อธิบายเพิ่มในส่วนของ Mode - ส่วนนี้จะประกอบด้วย
Normal – ก็คือธรรมดาๆ สีจะออกมาตามที่เราปาดลงไป
Multiply – ทำให้สีดูเข้มขึ้น และ สีขาวหรือสีอ่อน(มาก)ๆ จะไม่ปรากฏ
Screen – ทำให้สีสว่างขึ้น เหมือนเอาแสงขาวผากๆ มาทับ
Overlay – ภาพสีสดขึ้น ดูสวยงาม(?)
Luminosity – ปรับภาพสว่างแบบสะท้อนแสงได้(?)
Shade – ทำให้ภาพเข้มขึ้น เหมือนเพิ่มความดำให้กับภาพ
Lumi & Shade –ส่วนที่เข้มจะเข้มขึ้น ส่วนที่อ่อนจะสว่างมากขึ้น
Binary Color – ทำให้รายละเอียดบนเลเยอร์ดำเหมือนลงหมึก... ไม่นิยมใช้ครับ
ส่วนที่ 4 – ส่วนนี้ใช้บ่อยมากเช่นเดียวกัน
ลืมใส่ในรูป.. ตรงที่เป็นรูปตา คือ การปรากฏของเลเยอร์ครับ ถ้าเลเยอร์ไหนไม่มีตาก็จะไม่ปรากฏในงานบนสเตจ และรายละเอียด 3 บรรทัด “Layer 1, normal, 100%” คือ “ชื่อเลเยอร์, โหมดของเลเยอร์, ความเข้มของเลเยอร์” ตามลำดับ คาดว่าหลายคนรู้ แต่ก็เขียนไว้หน่อยแล้วกัน :)
เพิ่มให้อีกซะนิด
ส่วนที่ 5 – ไม่มีตรงนี้ลงสีไม่ได้นะเออ ฮ่าๆ ศูนย์รวมสีครับ
โดยส่วนตัวแล้ว RGB กับ HSV Slider เราไม่ได้ใช้หรอกครับ -_- มันแลดูยุ่งยากเลือกไม่ค่อยถูก ฮ่าๆ แถบผสมสีกับช่องเก็บค่าสีมีประโยชน์มากๆ เลย สำหรับคนที่ผสมสีไม่ค่อยถูกเลือกสีไม่เก่งว่าควรเอาสีไหนมาคั่นกลาง กับคนที่มีโทนสีที่แน่นอนแล้ว ก็เก็บไว้เป็นคอลเลกชั่นได้โลด อิอิ (เราใช้เต็มอัตราศึกมาก) มีทั้งหมด 144 ช่องค่ะ (12*12)
ส่วนที่ 6 – เครื่องมืออันเป็นที่น่าปวดหัวสำหรับหลายๆ คน เพราะชอบสับสนว่าควรใช้อะไรตอนไหนดี เราคิดว่า “ใช้ที่ตัวเองถนัด เป็นดีที่สุด” ครับ ฮ่าๆ
Selection เอาไว้เลือกพื้นที่การทำงาน หรือย้ายตำแหน่ง แบบสี่เหลี่ยม
เมื่อกดเครื่องมือนี้จะมีออพชั่นด้านล่าง ส่งผลจริงต่องาน ไม่ได้เป็นแค่การพรีวิวครับ
Transform กับ Scale– ปรับขนาดภาพแบบปกติ
Free Deform – ปรับภาพตรงหัวมุมทั้งสี่ได้ ทำให้ภาพเปลี่ยนมุมมอง
Rotate – หมุนภาพ
Flip Horizontally – กลับภาพซ้ายขวา
Flip Vertically – กลับภาพบนล่าง
Rotate 90 CCW – หมุนภาพทวนเข็มนาฬิกา
Rotate 90 CW – หมุนภาพตามเข็มนาฬิกา
Lasso เอาไว้เลือกพื้นที่การทำงาน หรือย้ายตำแหน่ง แบบอิสระ
Magic Wand ใช้เลือกพื้นที่ มีประโยชน์มากสำหรับการลงสีพื้น เพราะถ้าวาดเส้นปลายติดกัน ใช้เครื่องมือนี้เลือกพื้นที่ด้านในแล้วเทสีได้เลย (คือหลักการเลือกของเครื่องมือนี้คือจะเกิดซีเล็กชั่นบริเวณที่โทนสีนั้นๆ ใกล้เคียงกับจุดที่เราคลิก)
Move ใช้ย้ายภาพ
Zoom ใช้ซูมภาพ
Rotate คลิกเครื่องมือนี้แล้วไปลากภาพบนสเตจเพื่อหมุนได้เลยคครับ
Hand เมื่อเลือกเครื่องมือนี้เคอร์เซอร์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ เอาไว้เลื่อนภาพดูรายละเอียดจุดต่างๆ ตอนที่เราซูมภาพใหญ่ๆ
Color Picker ใช้เครื่องมือนี้ไปจิ้มตรงภาพจุดที่เป็นสีที่เราต้องการ แล้วสีนั้นจะขึ้นมาอยู่ตรง Primary Color ให้เราใช้งานครับ
เดะผมจะค่อยเอามาเพิ่มเรื่อยๆนะฮับ
Credit : MOMOE
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น